อันที่จริงชื่อของก๊าซหุงต้ม (LPG -Liquefied Petroleum Gas) ได้สร้างความสับสนให้กับคนทั่วไป
มากทีเดียว ซึ่งเพื่อนหลายๆ คนก็อาจจะเป็นหนึ่งในจำนวนคนที่ยังสับสนอยู่นะคะ เราค่อยๆ
มาทำความเข้าใจกันใหม่ พร้อมๆ กันค่ะ
โดยปรกติ ก๊าซหุงต้ม ในประเทศไทยจะถูกนำไปใช้ในสี่ภาคส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ใช้หุงต้มในครัวเรือน ร้านอาหาร
2. ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ใช้ตัดโลหะ ทำระบบเครื่องทำความเย็น
3. ใช้เป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม
และ 4. ใช้กับรถแท๊กซี่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งใช้กันมานานกว่า 20 ปีแล้ว
แต่ในระนะหลังมานี้ เมื่อราคาน้ำมันได้ทะยานสูงขึ้นๆ ทำให้หลายๆ คน
หันมาติดตั้งถังก๊าซหุงต้มใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนการใช้น้ำมันเบนซิน
และในช่วง 10 ปีมานี้ ทางกระทรวงพลังงานก็ได้ส่งเสริมให้ทั้ง รถแท็กซี่
รถยนต์ส่วนบุคคล และรถประจำทาง หันมาใช้
“ก๊าซ NGV” (National Gas for Vehicle)
มาดูแหล่งที่มาของก๊าซทั้ง2ชนิดกันก่อนดีกว่าค่ะ
“ก๊าซหุงต้ม -LPG” ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือ
1. มาจากการกลั่นน้ำมันดิบในประเทศไทยทั้งหมด 7 โรง ซึ่งในจำนวนนั้นมี 5 โรงใหญ่ๆ เป็นของ ปตท.
2. มากจากโรงแยกก๊าซ 5 โรง ซึ่ง 4 โรงเป็นของ ปตท. โรงที่5อยู่ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นการร่วมทุน
ระหว่าง ไทย-มาเลเซีย ซึ่งก๊าซจากโรงแยกที่5นี้(เกือบ)ทั้งหมดถูกส่งไปใช้ในมาเลเซีย
3. มาจากคอนเดนเสตที่เป็นของเหลวได้จากการขุดเจาะก๊าซในทะเล
“ก๊าซ NGV” ได้มาจากโรงแยกกาซที่เป็นของ ปตท. ทั้ง 4 โรง
สรุปแล้ว!! ก๊าซหุงต้ม-LPG เกือบทั้งหมดอยู่ในกำมือของบริษัท ปตท.
มีเพียงส่วนเหลือเล็กน้อยเท่านั้นที่เป็นของบริษัทอื่น
และ ก๊าซ NGV ทั้งหมด ทั้ง100% อยู่ในกำมือของบริษัท ปตท. แต่เพียงผู้เดียว
แล้วตอนนี้เรากำลังเจอปัญหาอะไรอยู่??
ประเด็นที่1: ปตท. ผลิตก๊าซLPGไม่พอใช้ และไม่พอส่งออก
นายณัฐชาติกล่าวว่า เนื่องจากความต้องการใช้ก๊าซ LPG ที่เพิ่มขึ้นของประชาชน ทำให้ประเทศไทยต้องเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ส่งออกก๊าซ LPG กลายเป็นผู้นำเข้าก๊าซ LPG แทน โดยในเดือน เม.ย. 2551 ไทยได้นำเข้าก๊าซ LPG แล้วกว่า2หมื่นตันและในเดือน ก.ค. 2551 นำเข้าเพิ่มอีกรวมแล้วกว่า 2.2 หม่นตัน ซึ่งในช่วงปลายเดือนนี้ ไทยอาจจะนำเข้าเพิ่มอีก2.2หมื่นตัน
ประเด็นที่2 : ปตท. บอกประเทสไทยขาดแคลนก๊าซLPG แนะขึ้นราคา
บริษัท ปตท. ได้บอกกับประชาชนว่า ก๊าซหุงต้มหรือที่เรียกกันว่า ก๊าซLPG นั้นกำลังขาดแคลน และได้แนะนำให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซชนิดนี้ โดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ทั้งแท็กซี่และบุคคล
(จาก : คำให้สัมภาษณ์ของนายณัฐชาติ จารุจินดา ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel วันที่ 7 ก.ค. 51)
ประเด็นที่3 : ไทยนำเข้า LPG 4แสนตัน
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. ยังกล่าวอีกว่า “ความต้องการก๊าซหุงต้ม –LPG ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซLPG 4แสนตัน” (ไทยรัฐ 11 ก.ค. 51)
เพื่อนๆ จำได้ไหมคะว่า เกือบทั้งหมดของก๊าซLPG และ NGV อยู่ในกำมือของปตท. นั่นคือ ปตท.เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ส่งออกก๊าซหุงต้มLPGของประเทศไทยมาตลอด 20 ปี
และในปี 2550 ประเทศไทยผลิตก๊าซหุงต้มLPG ได้ประมาณ4.3ล้านตัน
มีการขายภายในประเทศ 3.7 ล้านตัน ตามข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน
และส่งออก 0.3 ล้านตัน แต่ไม่ทราบว่าอีก 0.3ล้านตัน หรือประมาณ 7%ของที่ผลิตได้ทั้งหมด หายไปไหน.... น่าคิดนะคะ
กราฟแสดงปริมาณการบริโภคก๊าซในภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่ปี2529 -2550
ในอดีตนั้น รัฐบาลทุกยุกทุกสมัยได้ให้การอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มLPGมาตลอด ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้มLPGต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้ผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลนิยมติดตั้งก๊าซหุงต้มLPGกันมาก
ในขณะเดียวกันทางบริษัท ปตท. ก็ได้เร่งการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้ามากเกินไป
(84%ของก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จะใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า)
ทำให้ได้ก๊าซหุงต้มLPGและก๊าซNGVถูกผลิตออกมาด้วยในปริมาณที่มากเกินไป
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว รัฐบาล และปตท. ก็พุ่งเป้าความสนใจไปที่ ก๊าซNGV
โดยคิดโครงการก๊าซNGVขึ้น เพื่อให้คนหันมาใช้ก๊าซNGVแทนน้ำมัน
ยังมีการส่งเสริมด้วยการติดก่อนผ่อนทีหลัง เนื่องจากค่าติดตั้งก๊าซNGV สูงถึงคันละ 5 หมื่นบาท
นอกจากนั้นยังได้ควบคุมราคาก๊าซNGVไว้ที่กิโลกรัมละ8.50บาท ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมันหลายเท่าตัว
แต่จนแล้วจนรอด โครงการนี้ก็ติดลบ ไม่ประสบผลสำเร็จดังที่เพื่อนๆ หลายๆ ท่านเห็น
เพราะค่าติดตั้งก็แพง ปั๊มเติมก๊าซNGV ก็มีน้อย
รัฐบาลไม่เคยมีความแน่นอนในการจัดการเรื่องพลังงานเลย
และเมื่อโครงการNGVไม่เป็นไปตามแผน ผู้คนก็แห่ไปติดตั้งก๊าซLPGแทน
เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้ว ก๊าซLPG ก็เลยกลายเป็นเป้าหมายใหม่ให้ ปตท.
สูบกำไรเข้ากระเป๋าตัวเองโดยการให้ข่าวต่าง ๆ นานาจนเกิดเป็นประเด็นต่างๆ
ที่เราพูดกันไปในตอนแรก
ถึงย่อหน้าสำคัญแล้วค่ะ...
จับเท็จ ปตท. !!
ข้อแรก เรื่องการนำเข้าก๊าซหุงต้มLPGกว่า 2 หมื่นตัน มนเดือน เม.ษ. 2551 จากข้อมูลของกรมศุลกากร พบว่า ทั้งเดือนเมษายนและพฤาภาคม 2551 ไม่ได้มีการนำเข้าก๊าซหุงต้มLPGเลยแม้แต่ตันเดียว ดังแผนภาพประกอบด้านล่างนี้
นอกจากนี้ ข้อมูลจองกระทรวงพลังงานซึ่งดูแลข้อมูลพลังงงานอยู่ก็
ไม่พบว่ามีการนำเข้าแต่อย่างใด เพื่อนๆ อาจจะคิดว่า ข้อมูลของกรมศุลกากรยังไม่ได้ Update มั้ง แต่เราก็พบว่า ในส่วนของการส่งออกได้มีการUpdateไปถึงเดือนพฤษภาคมแล้ว นั่นคือ นอกจากจะไม่มีการนำเข้าตามคำกล่าวอ้างของผู้บริหาร ปตท. แล้ว
ยังมีการส่งออกอีกต่างหาก ดังแผนภาพประกอบด้านล่าง
ในข้อต่อมา ทั้งๆ ที่ ทางบริษัท ปตท. อ้างว่าก๊าซหุงต้มLPGกำลังขาดแคลน แต่จากข้อมูลของกรมศุลกากรพบว่า มีการส่งออก LPG ตั้งแต่เดือน มกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2551 ทุกเดือนรวมทั้งสิ้น 19.7 ล้านกิโลกรัม หรือเกือบ 2 หมื่นตัน ในราคาขายที่ท่าเรือ(FOB) กิโลกรัมละ 25.82 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่จะขายได้ในประเทศไทยคือ กิโลกรัมละ 20 บาท และถ้าหากคิดราคาส่งออกเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคมที่ราคา กิโลกรัมละ 27.73 บาท ซึ่งขายได้ราคาดีกว่าขายให้พี่ไทยตั้งเยอะ
ถามว่า แบบนี้หรือที่ปตท. เรียกว่าLPG ในประเทศไทยกำลังขาดแคลน แล้วยังต้องการให้รัฐบาลขึ้นราคาก๊าซLPGโดยเฉพาะที่ใช้กับรถยนต์ทั้งแท็กซี่และบุคคล เพื่อใคร.....
และในประเด็นสุดท้าย ความเห็นของคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ที่ว่า
“ปีนี้ต้องนำเข้าLPG 4 แสนตัน” ก็เป็นที่สงสัยว่าคุณประเสริฐไปเอาตัวเลขนี้มาจากไหน เพราะตัวเลขนี้คิดเป็น 11% ของปริมาณที่มีการใช้ในปี 2550 แล้วขณะนี้ปี 2551 ซึ่งได้ล่วงเลยมาแล้วกว่า 5เดือน (ตามข้อมูลกรมศุลกากร) ก็ยังไม่มีการนำเข้าก๊าซ ตามที่ ปตท. อ้างเลย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทาง บริษัท ปตท. ได้ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จกับประชาชน
สมควรอย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องร่วมมือกันตรวจสอบอย่างใกล้ชิดต่อไป และตลอดไป
Mode :: จันทร์กระโทกปิดประเด็น ::
ถึงแม้ตอนนี้เรายังคงไม่ได้คำอธิบายอย่างจริงใจใดๆ จาก ปตท.
จนถึงวันนี้ซึ่งยังไม่มีคำอธิบายใดๆ จากบริษัท ปตท. ที่เป็นเรื่องเป็นราวที่จะทำให้ประชาชนชนจะสามารถเข้าใจและยอมรับได้ในเรื่องของการพยายามปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ซึ่งทำให้ประชาชนซึ่งแทบจะเป็นส่วนใหญ่ในขณะนี้ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นเชื้อเพลิงของรถยนต์นั้นประสบปัญหา และรู้สึกว่าถูกขูดรีด
จะมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้ บริษัท ปตท. กลับมามีเจ้าของเป็นประชาชนคนไทย
เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยได้บ้าง ...พวกเราต้องช่วยกันค่ะ
ขอบคุณสำหรับทุกๆ ความคิดเห็นค่ะ